วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

Babylon Search

Babylon Search:

'via Blog this'

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ดูก่อนลุกขึ้นไปกรีดยางก็ได้นะพี่น้อง


ป วิ.อาญา 1- 2 หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


  ป วิ.อาญา 1- 2 หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.
ป.วิ.อ.มาตรา 143..... วางหลักไว้ว่า เมื่อได้รับความเห็นและสำนวนจากพนักงานสอบสวนดั่งกล่าวในมาตราก่อนให้พนักงานอัยการปฏิบัติดั่งต่อไปนี้
(
๑) ในกรณีที่มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งฟ้องและแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งผู้ต้องหามาเพื่อฟ้องต่อไป
(
๒) ในกรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งไม่ฟ้องในกรณีหนึ่งกรณีใดข้างต้น พนักงานอัยการมีอำนาจ
(
ก) สั่งตามที่เห็นควร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป
(
ข) วินิจฉัยว่าควรปล่อยผู้ต้องหา ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขัง แล้วแต่กรณี และจัดการหรือสั่งการให้เป็นไปตามนั้น...

2.
ป.วิ.อ.มาตรา 145.วางหลักไว้ว่า ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุด ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งไปเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่พนักงานอัยการยังมีอำนาจสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๔๓ หากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นแย้งคำสั่งพนักงานอัยการ ก็ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อชี้ขาด แต่หากคดีจะขาดอายุความก็ให้ฟ้องคดีตามความเห็นดังกล่าวไปก่อน

3.
ป.วิ.อ.มาตรา 147..... วางหลักไว้ว่า เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่ จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้

ประเด็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย

1.
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว และได้เสนอความเห็นพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการแล้ว พนักงานสอบสวนจะสอบสวนเพิ่มเติมได้ไหม? และหากพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากจะมีอำนาจทำความเห็นแย้งแล้วจะมีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมได้ไหม?

2.
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองว่า เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องจัดการกับสำนวนอย่างไร?

แนวธงคำตอบ (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ)

1.
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า เมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว และได้เสนอความเห็นพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการแล้ว พนักงานสอบสวนจะสอบสวนเพิ่มเติมได้ไหม? และหากพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
 
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากจะมีอำนาจทำความเห็นแย้งแล้วจะมีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมได้ไหม?
ตอบ พนักงานสอบสวน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมอีกโดยพละการ เพราะการที่จะสอบสวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๔๓ ที่กำหนดให้พนักงานอัยการเท่านั้นมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม แต่หากผู้
บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าควรที่จะมีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ต้องทำเป็นความเห็นแย้งมา โดยในความเห็นแย้งนั้นจะต้องมีความเห็นว่าควรจะทำการสอบสวนในเรื่องใดบ้าง แล้วความเห็นแย้งนั้นอัยการสูงสุดจะเป็นผู้มาพิจารณาว่ามีความบกพร่องที่ควรจะมีการสอบสวนเพิ่มเติมจริงหรือไม่ ซึ่งอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยบางส่วนก็เป็นคำชี้ขาด
สุดท้ายของอัยการสูงสุดในการที่จะพิจารณาในเรื่องนั้น หากอัยการสูงสุดเห็นด้วยกับความเห็นแย้งนั้น ก็จะมีคำสั่งให้พนักงาน
สอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม จากนั้นก็จะมีคำสั่งชี้ขาดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง นอกจากพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมแล้ว พนักงานอัยการยังมีอำนาจสั่งพนักงานสอบสวนให้ส่งพยานคนใดมาให้ซักถามได้หากมีกรณีที่ผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหา หรือ ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องในคดีร้องขอต่อพนักงานอัยการว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการสอบสวน หรือ มีเหตุ
อันควรสงสัยว่าพยานให้การโดยไม่สมัครใจ หรือให้การขัดต่อความเป็นจริง หรือให้การไว้ไม่แน่ชัด หรือมีเหตุอื่นที่เห็นสมควร และพนักงานอัยการเห็นว่าการซักถามพยานจะได้ความชัดเจน และรวดเร็วกว่าสอบสวนเพิ่มเติม ให้พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนส่งพยานคนใดมาให้ซักถามได้ แม้ว่าการซักถามของพนักงานอัยการจะไม่ใช่การสอบสวนหรือการสอบสวน
เพิ่มเติม แต่ก็เป็นทางที่ผู้ดำเนินคดีจะได้ทราบข้อเท็จจริง และหลักฐานของคดีได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ตาม 
ป.วิ.อ.มาตรา ๑๔๓ และการที่ผู้ให้ถ้อยคำตอบข้อซักถามของพนักงานอัยการก็มีผลเช่นเดียวกับการให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวน 
(
เป็นการอธิบายจากตัวบทกฎหมายเพราะข้อสอบข้อนี้เน้นที่เข้าใจตัวบทมากกว่าฎีกา เนื่องจากเป็นข้อสอบของท่านอัยการ ดังนั้น
ควรดูตัวบทให้เข้าใจอย่างถ่องแท้)

2.
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองว่า เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จ
แล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องจัดการกับสำนวนอย่างไร?
ตอบ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะต้องจัดการสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา ๑๔๐ ถึงมาตรา ๑๔๒ ซึ่งแยกเป็น ๒ กรณี คือ
กรณีแรก คือ กรณีที่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดมีหลักเกณฑ์อยุ่ในมาตรา ๑๔๐(๑) วรรคหนึ่ง, วรรคสอง และวรรคสาม
กรณีที่สอง คือ กรณีที่รู้ตัวผู้กระทำผิด มีหลักเกณฑ์อยู่ในมาตรา ๑๔๐(๒) ประกอบมาตรา ๑๔๑, ๑๔๒, ๑๔๓ และ
๑๔๔ (รายละเอียดศึกษาจากตัวบทกฎหมาย เพราะหากออกข้อสอบก็จะเป็นการนำตัวบทมาออกตรงๆ ใครจำตัวบท
และเข้าใจภาพรวมได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

สถานการณ์ยางพารา มาเลเซีย


ยางพารา:มาเลเซีย
สี่หน่วยงานในการพัฒนาพื้นที่ปลูกยาง 7,300 เฮกแตร์/ทุกปี(2011-2015)ในภาคการยาง
อุตสาหกรรมยางซาราวักจะได้รับการเพิ่มขนาดใหญ่จากโครงการปลูกใหม่กับสี่หน่วยงานกำหนดเป้​​าหมายในการพัฒนารวม 7,300 เฮกแตร์ต่อปีตามแผนมาเลเซีย 10 (2011-2015)
คณะกรรมการยางมาเลเซียและซาราวักเกษตรภาควิชามีการวางแผน แต่ละเฟกเตอร์ 2,500 เฮกแตร์/ปี ที่ให้เกษตรกรรายย่อยพัฒนาอุตสาหกรรมยาง - ment Authority (Risda) 1,500 เฮกแตร์ และการพัฒนาชนบทและกระทรวงภูมิภาค 800ha /ปี Risda จะเริ่มดำเนินการในโครงการนำร่องที่ครอบคลุม 391ha และที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้าน ใน Saratok  ใกล้เบตง, ปีถัดไป
ซาราวัก, ซึ่งขณะนี้มี 157,000 เฮกแตร์จากนิคมยางส่งออก(จากพื้นที่ปลูกยางมาเลเซีย 1,230,000 เฮกเตอร์) จะเป็นพื้นที่เติบโตที่สำคัญยางโซนใหม่เนื่องจากพื้นที่ทางการเกษตรมากมาย รัฐบาลได้สำราจพื้นทางการเกษตร ระบุมี 1 ล้านเฮกเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง พื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่ใน ศรีอา, Sibu, Sarikei, Bintulu
อิสมาอิลอิบราฮิม คณะกรรมการยางระดับภูมิภาคมาเลเซียกล่าวว่าคณะกรรมการวางแผนที่จะปลูกยาง 5,000 เฮกเตอร์ของพื้นที่ปลูกใหม่ ในมลรัฐส่วนใหญ่ที่มีชนพื้นเมือง (NCR) ในปี 2011 และ 2012 โครงการสองปีใช้เงินทุนของรัฐบาล RM30mil
"คณะกรรมการได้มีการระบุพื้นที่ 23 มลรัฐสำหรับการเพาะปลูกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรายย่อยบางส่วน
อิสมาอิล กล่าวว่าหลังจากที่การปลูกคณะกรรมการจะให้มีบทบาทที่ปรึกษาเกษตรกรรายย่อยในการบำรุงรักษาสังคมชุมชนของพวกเขา
เขากล่าวว่า จะมีค่าใช้จ่าย RM10, 000 เพื่อสร้างสวนยาง 1HA ในซาราวักกับ 65% ของค่าใช้จ่ายที่จะจ่ายสำหรับการเตรียมที่ดินปลูก วัสดุ และงานที่เกี่ยวข้องในปีแรก
พันธ์ยางที่มีคุณภาพให้น้ำยางสูง และเนื้อไม้ เช่น RRIM 2000 series ซึ่งมีผลผลิตสูง 1,800 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ที่จะใช้สำหรับการเพาะปลูกใหม่ ต้นยางเล็กจะเติบโตภายในห้าปี และได้รับผลผลิต 25 ปี
ในซาราวักราคาของแผ่นยางที่ถูก unsmoked ระหว่าง RM5 และ RM6 ต่อกิโลกรัมกับต้นทุนการผลิตของ RM3
ราคาเฉลี่ยของยางเกรด  SMR 20(ยางแท่ง) มีเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% สี่ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก RM7.10 ต่อกิโลกรัมในปี 2006 ที่ RM8.30 ต่อกิโลกรัมในปี 2008 และให้มากขึ้นกว่า RM9 ต่อกิโลกรัมในขณะนี้
สมาคมของประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดว่าราคายางธรรมชาติจะสูงในระยะสั้นและกลางเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลก
 International Watch Rubber มีการคาดการณ์ราคายางมีเสถียรภาพจนถึง 2035 เนื่องจากภาวะถดถอยในประเทศผู้บริโภครายใหญ่
มาเลเซียผลิตยางได้มากกว่า 857,000 ตันต่อปีของยางธรรมชาติ ปีที่แล้วกับอุตสาหกรรมต่างประเทศลงทะเบียนกำไร RM25bil ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง และยาง มาเลเซียเป็นผู้ผลิตขนาดใหญ่อันดับสามของโลกของยางธรรมชาติซาราวักส่งออก 32 ล้านตันของ SMR 20 RM260mil มูลค่าในปี 2008
อิสมาอิล กล่าวว่าตอนนี้สี่โรงงานยางในซาราวัก มีโกดังเก็บถึง 40 ตันต่อวัน เป็นโรงงานที่เก็บแผ่นยาง unsmoked ไว้ในกระบวนการ(ยางแท่ง) SMR 20 เพื่อการส่งออก
มาเลเซียกับ ความสำเร็จของคณะกรรมการดำเนินการตามแผน 9, อิสมาอิลกล่าวว่าการพัฒนา 715ha การถือครองยางใหม่และการจัดตั้งรูปแบบการถือครองที่ 14 เพื่อให้การถ่ายโอนการฝึกอบรมและเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรายย่อย
อิสมาอิล กล่าวว่าคณะกรรมการสนับสนุนการปลูกยางได้ใช้งบประมาณ RM16, 000, ถึง 11 พื้นที่ สำหรับให้เกษตรกรรายย่อยในการผลิตแผ่นยางที่มีคุณภาพ
ภายใต้แผนมาเลเซีย 10 เขากล่าวว่าคณะกรรมการจะเริ่มดำเนินการในโครงการที่ดีสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่มีเกษตรกรรายย่อยอยู่ครอบคลุม 325ha
อิสมาอิลกล่าวว่ากลยุทธ์ของคณะกรรมการสำหรับทศวรรษถัดไป (2010-2020) คือการเป็นศูนย์ทั่วโลกของความเป็นเลิศสำหรับยางโดยมุ่งเน้นที่เจ็ดพื้นที่สำคัญ
พื้นที่เหล่านี้รวมถึงการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในภาคต้นน้ำ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง, การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และมีมูลค่าเพิ่มและการสนับสนุนอุตสาหกรรม และได้รับการสนับสนุนที่จะเป็นองค์กรวิจัยด้วยตนเอง

การหาค่าเปอร์เซ็นเนื้อยางของน้ำยางสด


การหาค่าเปอร์เซ็นเนื้อยางของน้ำยางสด

การอบแห้งเป็นวิธี หาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยการนำน้ำยางไปทำให้แห้ง ให้เหลือแต่เฉพาะเนื้อยาง แล้วนำไปชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างน้ำยางสดก่อนที่จะนำไปทำให้แห้ง กับเนื้อยางที่อบแห้งแล้วว่าต่างกันเท่าไรเมื่อคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์  ก็จะได้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งของน้ำยางสด เช่น    ชั่งน้ำยางสดมา 100 กรัม นำไปอบแห้งแล้วชั่งน้ำหนักเหลือ 30 กรัม นั่นคือ น้ำยางสดนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 30 %

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอบแห้ง
1. ตู้อบ ( Hot air oven ) สำหรับใช้อบแผ่นยางตัวอย่าง
2. เครื่องชั่งไฟฟ้า  ละเอียดทศนิยม 2 ตำแหน่ง  สามารถชั่งน้ำหนักได้สูงสุด 100 - 300 กรัม
3. จักรรีดยางตัวอย่าง ขนาดเล็ก แบบมือหมุน  หรือแบบมอเตอร์ก็ได้
4. กระปุกพลาสติก  ไว้สำหรับใส่ตัวอย่างน้ำยาง
5. ถ้วยสแตนเลส หรืออลูมิเนียม ไว้ใส่น้ำยางสด 10 กรัม
6. น้ำกรดอะซิติก ความเข้มข้น 2 %
7. น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด

วิธีการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งของน้ำยางสด ( DRC )
   มีขั้นตอนดังนี้
1. สุ่มตักตัวอย่างน้ำยางสดที่ต้องการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง
2. ชั่งน้ำยางสดใส่ถ้วยสแตนเลส  หรืออลูมิเนียม 10.00 กรัม 
3. เติมน้ำกลั่นผสมลงไปในน้ำยาง  ประมาณ 20 ซี.ซี.
4. เติมน้ำกรดอะซีติก ความเข้มข้น 2% ลงไปอีกประมาณ 15 - 20 ซี.ซี. เขย่าให้เข้ากัน
5. ตั้งทิ้งไว้ให้ยางจับตัวประมาณ 30 นาที
6. นำยางที่จับตัวแล้ว ไปรีดให้เป็นแผ่นบางๆ ความหนาไม่เกิน 2 มม.
7. ล้างยางแผ่นที่รีดแล้ว  ด้วยน้ำสะอาด
8. นำไปอบให้แห้งในตู้อบ ( Hot air oven )  ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส  ระยะเวลาอบ 16 ชั่วโมง
9. นำยางที่อบแห้งแล้วออกจากตู้อบ  ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น  แล้วนำไปชั่งน้ำหนักพร้อมบันทึกค่าไว้
10. นำค่าน้ำหนักที่ได้มาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง  จากสูตร  ดังนี้

      เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (DRC)) = (น้ำหนักยางแห้ง คูณด้วย 100)
หารด้วยน้ำหนักน้ำยางสด

     
      เช่น         น้ำหนักน้ำยางแห้ง  2.83 กรัม  น้ำหนักน้ำยางสด  10.00 กรัม

      เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง ( DRC ) = [ ( 2.83 x 100 ) / 10.00 ]
                                               
                                                =  28.3 %

โดยหลักกฎหมายที่ว่า สัญญาต้องเป็นสัญญา (pacta sunt servanda)


โดยหลักกฎหมายที่ว่า สัญญาต้องเป็นสัญญา (pacta sunt servanda)กล่าวคือ สัญญาจะเกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาและสัญญาจะมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา (Privity of Contract)เท่านั้น กล่าวคือ จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น คู่สัญญาจะก่อความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิหรือก่อให้เกิดหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่คู่สัญญาไม่ได้
เว้นแต่ จะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามมาตรา ๓๗๔ ๓๗๖

ผลแห่งสัญญา เมื่อสัญญามีผลสมบูรณ์ ย่อมหมายความว่า มีสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาเกิดขึ้น นับแต่นั้นต่อไปคู่สัญญาก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อกัน จะมีการบิดพลิ้วไม่ได้ หากมีการบิดพริ้ว คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ อันเกิดจากสัญญานั้นได้

สัญญาที่มีผลสมบูรณ์ คู่สัญญาจะระงับความผูกพันในสัญญาได้แต่ด้วย การเลิกสัญญาเท่านั้น ซึ่งการจะเลิกสัญญาต่อกันได้ต้องมีเหตุตามกฎหมาย หรือเหตุตามข้อสัญญา หรือโดยการตกลงเลิกสัญญา
          ส่วนสัญญาที่มีผลเป็นโมฆียะ นอกจากจะกระทำด้วยการบอกเลิกหรือตกลงเลิกสัญญาแล้ว(เช่นเดียวกับสัญญาที่สมบูรณ์) ยังมีสิทธิระงับความผูกพันในสัญญาได้โดยการบอกล้างโมฆียกรรม เพื่อให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะ ได้อีกด้วย

1.ค่าเสียหายตามปกติที่กฎหมายกำหนด
                                ค่าเสียหายตามปกติในหนี้เงิน กฎหมายให้เรียกได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
                                มาตรา 224 ว. 1 หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น...
2. ค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ (ค่าเสียหายพิเศษ)
                                                ได้แก่ ความเสียหายที่มิได้เกิดขึ้นเป็นปกติจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
                                                เจ้าหนี้จะเรียกค่าเสียหายกรณีนี้ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ได้เห็น หรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้า ว่าเจ้าหนี้จะได้รับความเสียหายมากกว่าปกติ ถ้าตนไม่ชำระหนี้ เช่น

                                นายแดงซื้อที่ดินจากนายดำ ปรากฏว่า นายดำผิดสัญญาไม่ส่งมอบที่ดินให้แก่นายแดงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ทำให้นายแดงขายที่ดินต่อไปให้กับนายเขียวไม่ทัน นายแดงต้องขาดกำไรที่พึงได้รับ เช่นนี้
                                -ค่าเสียหายตามปกติได้แก่ อะไร
                                -นายแดงจะเรียกค่าเสียหายจากการขาดกำไร กับนายดำได้หรือไม่
-ค่าเสียหายตามปกติได้แก่ ค่าขาดประโยชน์การใช้ที่ดิน
                                -นายแดงจะเรียกค่าเสียหายจากการขาดกำไร ได้ต่อเมื่อนายดำ รู้ว่านายแดงนำที่ดินไปขายต่อ หรือรู้ว่านายแดงมีอาชีพเป็นนายหน้า หรือพ่อค้าที่ดิน

หลักการแห่งระบบกล่าวหาที่เรานำมาใช้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความ


หลักการแห่งระบบกล่าวหาที่เรานำมาใช้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความของเราได้แก่ การพิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่ความ (Principle of Publicity and Confrontation)  ตามที่บัญญัติไว้ใน  ป.วิแพ่งมาตรา 36  และป.วิอาญามาตรา 172  ให้สิทธิคู่ความเท่าเทียมกันในการเสนอพยานหลักฐานของตนต่อศาลต่อจากนั้นในการค้นหาความจริงเราได้นำเอาหลักการของระบบไต่สวนมาใช้  ให้ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้อย่างกว้างขวาง (Principle of Judicial Investigation)  ไม่จำกัดเฉพาะจากพยานหลักฐานเท่าที่คู่ความนำสืบ  เป็นหน้าที่อันสำคัญของศาลยุติธรรมที่จะค้นหาความจริงไม่ใช่เพียงแต่คอยวินิจฉัยว่าคู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบได้ดีกว่ากันเท่านั้น